#ชี้เป้า เปิด สิทธิประกันสังคม ก่อนหมดปี 2562
จ่ายเงินทุกเดือนมาทั้งปี มี สิทธิประกันสังคม อะไรให้เราใช้บ้างนะ ?
มนุษย์ทำงานหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการจ่าย ประกันสังคม นั้น
มีสิทธิประโยชน์หลายอย่างที่เราอาจจะลืม ไม่รู้ หรือมองข้ามไป
บทความนี้ชี้เป้าจะชวนมารู้จักกับ สิทธิประกันสังคม ที่น่าสนใจ
นอกเหนือจากการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ
หรือแม้แต่การว่างงานก็สามารถรับสิทธิได้!
มาดูกันว่าก่อนหมดปีนี้เราจะใช้สิทธิอะไรได้บ้าง
มาเช็คกันโลยยย~
เราเป็นผู้ประกันตนแบบไหนกันนะ?
เริ่มมาเรียนรู้กันที่ว่าเราเป็นผู้ประกันตนแบบไหนกันดีกว่า
หลาย ๆ คนโดยเฉพาะเหล่าพนักงานออฟฟิศมือใหม่ที่อาจจะยังไม่เข้าใจในระบบของ ประกันสังคม
ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม มีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
มาตรา 33 = พนักงานจ้างทั่วไปในบริษัทเอกชน ซึ่งบริษัทจะสมัครให้เราอยู่แล้ว
มาตรา 39 = เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
และเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน
แต่ต้องการรักษาสิทธิก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจได้ในมาตรานี้
มาตรา 40 = ผู้ที่ทำงานฟรีแลนซ์ หรือแรงงานนอกระบบแต่ต้องการเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ

สิทธิประโยชน์มาตรา 33 และ มาตรา 39
สำหรับ สิทธิประกันสังคม ของมาตรา 33 และ 39 นั้นจะต่างกันเพียงเล็กน้อย
โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับ สิทธิประกันสังคม คุ้มครองด้วยกันทั้งหมด 7 กรณี ได้แก่
เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
และผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับ สิทธิประกันสังคม คุ้มครองทั้งหมด 6 กรณี ได้แก่
เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ
ซึ่งในแต่ละกรณีจะมีเงื่อนไขการคุ้มครองที่แตกต่างกันไป
มาดูกันว่ารายละเอียดของแต่ละกรณีเป็นยังไงบ้าง~
กรณีเจ็บป่วย
– กรณีเจ็บป่วยปกติ –
สามารถรับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
เมื่อเข้ารับการรักษาตามสถานพยาบาลที่กำหนด
– กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน –
สามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลใดก็ได้ และสามารถสำรองจ่ายและเบิกคืนได้ด้วยนะ
ซึ่งมีหลักเกณฑ์การเบิกคืนตามนี้เลย
สถานพยาบาลรัฐ – ขอเบิกคืนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
สำหรับผู้ป่วยนอก : สามารถเบิกได้ตามที่จ่ายจริง
สำหรับผู้ป่วยใน : สามารถเบิกได้ตามที่จ่ายจริง ภายใน 72 ชั่วโมง
ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
สถานพยาบาลเอกชน – เบิกได้ด้วยข้อกำหนดตามนี้เลย
สำหรับผู้ป่วยนอก : เบิกตามจริงได้ไม่เกิน 1,000 บาท
และจ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ในกรณีการตรวจรักษาบางข้อ
สำหรับผู้ป่วยใน : กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ700 บาท
กรณีที่รักษาในห้อง ICU ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลเบิกได้ไม่เกินวันละ4,500 บาท
กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ8,000-16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด
ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและหรือเอกซเรย์เบิกได้ไม่เกินรายละ1,000 บาท

– กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต –
สามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย
สำนักงาน ประกันสังคม จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาจนพ้นภาวะวิกฤต
ให้กับสถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ
และหลังจากพ้นภาวะวิกฤตแล้ว จะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิ
และยังมีสิทธิได้รับค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การบำบัดโรคกรณี
สูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะบางส่วนได้ตามความจำเป็นอีกด้วย
– กรณีหยุดพักตามคำสั่งแพทย์ –
หากหยุดพักตามคำสั่งแพทย์และหมดวันลาป่วยตามกฏหมาย
ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้เงินทดแทน 70% ของค่าจ้างจริง
สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี
ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้เงินทดแทน 70% ของฐานการนำส่งเงินสมทบ
ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี

แต่จะมีกลุ่ม 13 โรคยกเว้นที่ไม่สามารถใช้ สิทธิประกันสังคม ได้ มีตามนี้เลยนะ

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การเป็นผู้ประกันตน เราสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพในบางโรคได้ด้วย
บางโรคตรวจฟรี บางโรคก็เสียเงินในราคาที่ถูกมาก ๆ จัดว่าคุ้มค่ามาก
ใครอยากตรวจสุขภาพ ลองดูตามลิสต์นี้ได้เลยนะ



กรณีทันตกรรม
หนึ่งความคุ้มครองที่น่าสนใจนั่นก็คือทันตกรรม ซึ่งเราสามารถทำฟันโดยใช้สิทธิได้ไม่เกิน 900 บาทต่อปี
จ่ายเพียงส่วนที่เกินมาเท่านั้นในกรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าตัดฟันคุด
ในส่วนของการใส่ฟันเทียมก็สามารถใช้ได้สูงสุดถึง 4,400 บาทด้วยกัน รายละเอียดต่าง ๆ ตามในรูปเลย

กรณีคลอดบุตร
สำหรับคนที่กำลังมีครอบครัวและกำลังมีเจ้าตัวน้อย ประกันสังคม ก็คุ้มครองในจุด ๆ นี้ด้วยนะ!
สามารถรับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายได้ทั้งชายและหญิงจำนวน 13,000 บาท เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
และสำหรับผู้หญิงที่เป็นคุณแม่และเป็นผู้ประกันตน
สามารถรับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วันด้วย
และยังสามารถเบิกค่าตรวจและรับฝากครรภ์สูงสุดไม่เกิน 500 บาทได้ด้วยนะ


กรณีว่างงาน
เรื่องใกล้ตัวขึ้นอีกนิดกับกรณีการว่างงาน ซึ่งจะมีเฉพาะมาตรา 33 เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง
เนื่องจากในมาตรา 33 นั้นเป็นผู้ประกันตนที่กำลังทำงานอยู่ ดังนั้นจึงมีความคุ้มครองในส่วนของการว่างงานด้วย
ในขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นเป็นผู้ประกันตนที่ออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิ์
จึงไม่มีความคุ้มครองการว่างงานรวมอยู่ด้วยนั่นเอง ~
มาดูกันว่า ถ้าเราว่างงานแล้ว เราสามารถเบิกอะไรได้บ้างนะ

นอกเหนือจากนี้ยังมีสิทธิคุ้มครองในกรณีทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพอีกด้วยนะ
ซึ่งอาจจะไกลตัวไปอีกนิด ใครที่สนใจสามารถลองไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.sso.go.th/
สิทธิประโยชน์มาตรา 40
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะเป็นผู้ประกันตนประเภทที่สมัครใจที่จะจ่ายเงินสมทบ
แต่ไม่ได้ประกอบอาชีพประจำในบริษัทเอกชน เช่น ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ หรือพ่อค้าแม่ค้า
ก็สามารถสมัครรับสิทธิประโยชน์จาก ประกันสังคม ในมาตรานี้ได้
โดยสามารถเลือกจำนวนเงินสมทบที่ต้องจ่ายได้ โดยจะมีสิทธิประกันสังคมที่ได้รับต่างกันดังนี้


ใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถไปดูต่อได้ที่นี่เลยยย